Saturday, July 7, 2012

NAS (Network Attached Storage)


NAS (Network Attached Storage)

ในปัจจุบันนอกจากไฟล์เอกสารที่มีแต่ข้อความแล้วยังมีไฟล์รูปภาพกราฟิก หรือแม้แต่ข้อมูลวิดีโอซึ่งต้องการใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จำนวนมาก วิธีแก้ทางหนึ่งก็คือการใช้ Network-Attached Storage(NAS) ในระบบเน็ตเวิร์กภายในองค์กร
Network-Attached Storage (NAS) เป็นวิธีที่ง่ายในการเพิ่มอุปกรณ์เก็บข้อมูลให้กับเน็ตเวิร์กขององค์กร โดยที่ NAS ไม่ได้มีความสามารถในการประมวลผลพิเศษ แต่ว่าNAS เป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ โดยที่มีราคาถูก และง่ายต่อการใช้มากกว่า ทั้งนี้นอกเหนือจากราคาของระบบที่ถูกกว่าการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์แล้ว ระบบ NAS นี้ยังสามารถติดตั้ง ใช้งาน และดูแลได้ง่ายโดยใช้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กสามารถตรวจสอบ และดูแล NAS ได้โดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการที่ทำงานบนเว็บบราวเซอร์ได้ทันที
NAS นั้นเปรียบเสมือนกับว่าเป็นระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดยไคลเอ็นต์ หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโพรโตคอลเช่น TCP/IPและผ่านทางแอพพลิเคชันเช่น NFS (Network File System) หรือ CIFS (Common Internet File System) ทำให้ไคลเอ็นต์ที่เชื่อมต่ออยู่บนระบบเน็ตเวิร์กสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ และการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื่อมต่อซึ่งมีอยู่ภายในไคลเอ็นต์อยู่แล้ว โดยโครงสร้างของ NAS นั้นเน้นการให้บริการด้านไฟล์ ดังนั้นจึงช่วยให้การจัดการเข้าถึงไฟล์สามารถทำได้ด้วยความรวดเร็ว
NAS จะส่งข้อมูลในปริมาณที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับ SAN และต้องใช้ช่วงเวลาน้อยกว่าอีกด้วย โดย LAN / WAN จะมีการบังคับแพ็กเก็ตขนาดใหญ่ให้แตกออกเป็นชิ้นย่อยในการส่ง ดังนั้นจำนวนแพ็กเก็ตยิ่งมากเท่าไรก็จะใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทำให้ซีพียูทำงานหนักขึ้นนั่นเอง จึงไม่เหมาะที่จะไว้รับส่งไฟล์ขนาดใหญ่มากๆ
นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้ NAS แบ็กอัพไดเรกทอรีหรือฮาร์ดดิสก์ของไคลเอ็นต์ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสำรองข้อมูลที่ลดความเสี่ยงในการสูญเสียข้อมูลให้น้อยลง

ประวัติของ NAS
     การจัดเก็บข้อมูลยุคแรกๆ เป็นการเชื่อมต่อแบบ Direct Attached Storage หรือ Server Attached Storage
     ได้มีการแยกดิสก์หรือสตอเรจออกมาตั้งไว้ตรงกลาง แล้วต่อเซิร์ฟเวอร์เข้ามาแชร์ใช้งาน เรียกว่าNetwork Attached Storage หรือ NAS
     NAS ยุคแรกพัฒนาขึ้นมาบนพื้นฐานของเคอร์แนลแบบยูนิกซ์
รู้จักกับ NAS
     NAS (Network Attached Storage) มีสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้ม
     การส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์จัดเก็บเป็นการวิ่งบนระบบเครือข่าย LAN
       NAS ประกอบด้วยอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย IP


แสดงการใช้งานแฟ้มข้อมูลร่วมกันของระบบ NAS

โครงสร้างพื้นฐานของ NAS
     NAS มีการเข้าถึงทำงานแบบไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์โดย Client หรือเวิร์กสเตชันผ่านทางเน็ตเวิร์กโปรโตคอล
     NAS จะใช้ในการส่งข้อมูลในปริมาณที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับ SAN และต้องใช้ช่วงเวลาน้อยกว่าอีกด้วย
·       NAS ไม่เหมาะที่จะไว้ใช้รับส่งไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ


แสดงโครงสร้างพื้นฐานของ NAS

หลักการทำงานของ NAS
     NAS (Network Attached Storage) มีสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้ม
     มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเชื่อมต่อโดยตรงเข้าไปที่อุปกรณ์เครือข่าย
     การส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารจากอุปกรณ์จัดเก็บเป็นการวิ่งบนระบบเครือข่ายแลน โดย LAN และ WAN
     ตัว NAS จะติดตั้งโปรเซสเซอร์ไว้ภายในเพื่อให้สามารถบริหารตัวมันเองได้ด้วย

หลัการพื้นฐานของ NAS
ประเภทของ NAS
                อุปกรณ์ NAS ในตลาดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                1. อุปกรณ์ NAS ที่ใช้ประโยชน์จากโพรโตคอล Network Data Management Protocol (NDMP)
                2.  อุปกรณ์ NAS ที่ประยุกต์การใช้งานแบบวินโดวส์
ข้อดีของ NAS
     บริหารจัดการได้ง่าย
     มีความยืดหยุ่น ติดตั้งได้ง่าย
     ทำงานได้ดีกับระบบที่ต้องส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกล ๆ
     NAS จะมีความปลอดภัยในระดับของไฟล์
     NAS จะใช้งานได้ดีกับองค์กรที่ต้องการส่งไฟล์ไปให้กับหลาย ๆ Client ผ่านทางเน็ตเวิร์ก
     ราคาถูกและง่ายต่อการใช้งาน
     รองรับแพลทฟอร์มที่หลากหลาย ทั้ง Windows และ Unix

การใช้งานระบบ NAS ที่ต่าง platform กัน
ข้อเสียของ NAS
     หากดึงข้อมูลออกจากอุปกรณ์จัดเก็บมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย
     การส่งถ่ายข้อมูลของ NAS ผ่านเครือข่ายไม่สามารถทำได้รวดเร็ว
     การรักษาความปลอดภัยในระบบ ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่อง NAS

สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกใช้อุปกรณ์ NAS
     อุปกรณ์ทั้งหมดต้องรองรับโปรโตคอล DHCP
     อุปกรณ์ควรสนับสนุนโปรโตคอลต่าง ๆ
     อุปกรณ์ควรมีอินเทอร์เฟซและพอร์ตการเชื่อมต่อให้เลือกหลายรูปแบบ
     อุปกรณ์สามารถกำหนดผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ใช้
     มีเว็บอินเทอร์เฟซสำหรับเข้าไปจัดการและปรับแต่งค่า Configuration ต่าง ๆ
ความแตกต่างระหว่าง SAN กับ NAS


แสดงความแตกต่างระหว่าง SAN และ NAS
แนวโน้มของ NAS
     มีการคาดว่าระบบ NAS จะถูกลงเหมือนกับราคาของพีซี
·       คาดว่าตลาดของอุปกรณ์ Nas จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

สรุป
     NAS เป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากการใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ โดยที่มีราคาถูก และง่ายต่อการใช้
     NAS นี้ยังสามารถติดตั้ง ใช้งาน และดูแลได้ง่าย
     NAS ถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับการทำงานแบบรวมศูนย์ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     NASถูกออกแบบมาเพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Attached Storage (DAS)
     SAN และ NAS ต่างเป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์
     อุปกรณ์ NAS จึงถูกออกแบบมาเพื่อชดเชยข้อเสียของ SAN ในเรื่องของราคาที่สูงมาก

3 comments:

  1. ldap online training| ldap training| call us+919000444287 ...
    www.21cssindia.com/courses/ldap-online-training-103.html
    LDAP Online Training, LDAP training, LDAP course contents, LDAP , call us: +919000444287,dharani@21cssindia.com.

    ReplyDelete
  2. The 20 Best Casinos in Columbus, Ohio (MapYRO)
    Casinos 경주 출장샵 Near The Columbus Casino · Hollywood Casino titanium tube at Penn National Race Track 광명 출장마사지 · 대전광역 출장마사지 Ameristar Casino Columbus · Hollywood Casino 광명 출장안마 Columbus

    ReplyDelete
  3. Nas (Network Attached Storage) ~ ไม่รู้จะเขียนอะไร เค้าเขียนกันหมดแล้ว >>>>> Download Now

    >>>>> Download Full

    Nas (Network Attached Storage) ~ ไม่รู้จะเขียนอะไร เค้าเขียนกันหมดแล้ว >>>>> Download LINK

    >>>>> Download Now

    Nas (Network Attached Storage) ~ ไม่รู้จะเขียนอะไร เค้าเขียนกันหมดแล้ว >>>>> Download Full

    >>>>> Download LINK

    ReplyDelete