Thursday, April 5, 2012

Cluster Grid และ ปฐมบทของ Cloud computing

มาดูกันทีละตัวนะครับ
 
     Cluster computing เป็นการเชื่อมต่อระบบการทำงานของกลุ่มคอมพิวเตอร์เดียวกันภายใต้ระบบเครือข่ายความเร็วสูง  มีความสามารถในการกระจายงานที่ทำไปยังเครื่อง ภายในระบบเพื่อให้การประมวลผลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เหมาะสำหรับการประมวลผลงานที่มีความซับซ้อนโดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การจำลองโครงสร้างของโมเลกุลทางเคมี, การวิเคราะห์เกี่ยวกับตำแหน่งการเกิดพายุสุริยะ, การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น


ที่มาของภาพ : http://dev.mysql.com/doc/refman/5.1/en/mysql-cluster-nodes-groups.html

     Grid computing   การประมวลผลแบบ Grid Technology  พัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ระบบทำการคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนด้วยสมรรถนะสูง โดยได้จัดเอาทรัพยากรด้านคำนวณหรือทรัพยากรประมวลผลด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ มาทำการต่อเชื่อมโยงให้ถึงกัน ให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงระบบเดียว



               ที่มาของภาพ : http://www.csc.villanova.edu/~aadueni/Grid_Computing.html

        Cloud  Computing   เป็นการประมวลผลที่ย้ายจากการประมวลผลภายใต้ Server ขององค์กรในรูปแบบเดิม  ไปสู่การประมวลผลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยผ่านการทำงานของระบบสื่อสารความเร็วสูง  มีรูปแบบการทำงานคล้ายระบบ GRID Computing แต่แตกต่างกันตรงที่มีการออกแบบและพัฒนา  API  รวมถึงรายละเอียดของ Protocol  และเชื่อมโยงการทำงานใหม่ให้ยึดหยุ่นและเหมาะสมกับกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น  โดย Cloud Computing เป็นการทำงานร่วมกันเพื่อนำเอาความสามารถของระบบประมวลผลมหาศาลมาใช้งานและสิ่งสำคัญคือ  คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมี Hardware และระบบปฏิบัติการที่เหมือนกันทั้งหมด



ที่มาของภาพ : http://707056suchada.wordpress.com/tag/library-trend-cloud-computing-oclc-black-april

ที่ไหนเค้าใช้ cloud กันบ้าง มีเยอะครับ แต่หลักๆ ก็ดูจากภาพเลยครับ (น่าจะรู้จักกันทุกที่นะครับ)

 Grid + Cluster   =  Cloud computing




ที่มาของภาพ : http://icawaii.wordpress.com/

ปฐมบทของ Cloud Computing
          ที่มาหรือแนวคิดเรื่อง Cloud ก็เกิดจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์
          อ่า ลองคิดดูนะครับว่าวันนึงๆ เราใช้คอมพิวเตอร์กี่ชั่วโมง แล้วเวลาที่เราปิดเครื่องไปล่ะ คอมพิวเตอร์ก็ไม่เกิดประโยชน์ ทั้งๆที่ประสิทธิภาพแต่ละเครื่องสุดยอดอยู่แล้ว เค้าก็เลยอยากใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
          ส่วนเรื่องของซอฟต์แวร์ก็เกิดจากแนวคิดที่ว่า " ใช้เท่าไหร่จ่ายเท่านั้น " เหมือนกับการจ่ายค่านำ้ค่าไฟฟ้านั่นแหละครับ ลองคิดดูนะครับว่าโปรแกรมที่เราใช้ เราได้ใช้มันครบทุกฟังก์ชั่นหรือเปล่า เอาง่ายๆ แค่ Microsoft word หรือโปรแกรมทางธุรกิจบางตัว เราใช้มันไปกี่เปอร์เซนต์เทียบกับความสามรถของมัน Windows หรือ ระบบปฏิบัติการต่างๆที่เราใช้ เราใช้มันไปมากแค่ไหน ใช้ครบทุกฟังก์ชั่นไหม แล้วตัวที่เราไม่ได้ใช้เราจะติดตั้งมันไปทำไม ต้องจ่ายตังค์ค่าลิขสิธิ์แบบเต็มๆ แต่ใช้งานเพี่ยงแค่นิดเดียว ถามว่ามันคุ้มไหม เปลืองทรัพยากรณ์ในเครื่องครับ สมมติว่าเราต้องการทำหนัง Animation แต่เครื่องเราแรงไม่พอ มันก็ทำงานไม่ได้ เอ๊ ก็ยืมเครื่องเค้าใช้สิ ยืมอย่างไรล่ะ Cloud computing ครับ คือคำตอบนึงที่น่าสนใจ ไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่แพงๆด้วย เพียงแค่จ่ายเงินตามที่เราใช้งาน แต่ต้องใช้อินเทอเน็ตความเร็วค่อยข้างสูงนิดนึงนะครับ

          เหตุผลของการใช้ Cloud computing ยังมีอีกมากมายครับผมแค่อยากอธิบายแบบบ้านๆครับ


     ลองมองกันอย่างง่ายๆนะครับ ถ้าเรามองว่า Cloud computing คือ OS หรือระบบปฏิบัติการ มองว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรวมกันเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว จะได้ว่า
          Computer , Server และ อื่น ๆในระบบเครื่อข่าย = Hardware
          Network connection = Circuit คือวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
          Cluster และ Grid = kernel คือส่วนประกอบหลักของระบบปฏิบัติการ ซึ่งคอยดูแลบริหารทรัพยากรของระบบ และติดต่อกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
          Cloud = OS ระบบปรฏิบัติการที่คอยควบคุมทุกอย่าง
          PaaS , SaaS , IaaS  = Application ที่ติดตั้งใน Cloud

(ปฐมบทนี้ มันเป็นความคิดของตัวผมเองนะครับ อาจจะผิดพลาดประการใด ก็ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วยครับ )

ข้อมูลบางส่วนผมเอามาจาก http://icawaii.wordpress.com/ อธิบายไว้ดีมากครับ

0 comments:

Post a Comment